owbaw 2011

owbaw 2011
APSW Thailand

วันจันทร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555



                    

OUTSTANDING WOMEN IN BUDDHISM AWARDS CEREMONYIn Honor Of
The United Nations International Women’s Day

Friday, March 2, 2012 
Chulalongkorn University
Bangkok, Thailand

Contact:  085-173-8737 (English),  085-023-0991 (Thai)
Preliminary Schedule of Events

 7.30 – 8.30 am           Registration & Refreshments

  8.30 – 8.40                Mahayana Chanting:  Kwan Yin

  8.40 – 8.50                Dance Performance

  8.50 – 9.00                Theravada Chanting: 13 Enlightened Bhikkhunis

  9.00 – 9.10                Welcoming Speech
Vice-President, OWBA                                   

  9.10 – 9.30                Keynote Speech 1: International

  9.30 – 9.40                Dhamma Song:  Thai Plum Village

  9.40 – 10.00              Keynote Speech 2:  Thai

  10.00 – 11.30            2012 OWBA Winners’ Biographies

11.30 – 12.50 pm        Lunch

12.50 – 13.00              Vajrayana Chanting:  Tara

13.00 – 13.30             Awards Presentation & Group Photos
           
13.30 – 15.00             Award Recipients’ Panel
on The Power of Female Sacredness

15.00 – 15.10              Closing Ceremony
                                   







พิธีมอบรางวัลสตรีดีเด่นในพระพุทธศาสนา
เนื่องในวันสตรีสากลแห่งสหประชาชาติ
วันศุกร์ที่    2     มีนาคม      2555
  ห้องประชุม
101   คณะคุรุศาสตร์    มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์
ติดต่อ 085-1738737 (อังกฤษ)    085-0230991 (ไทย)
7.30 -8.30             ลงทะเบียน
8.30 8.40          พิธีสวดมนต์นิกายมหายานโดยคณะพระอาจารย์ใหญ่
                             ภิกษุณีเสก  กวงเซง   (ดร.วราภรณ์     เลิศรังษี)
                             เจ้าอาวาสตำหนักพระแม่กวนอิม  โชคชัย 4  ลาดพร้าว   กทม
8.40 -8.50            สวดมนต์เถรวาท  โดยคณะสิกขะมาตร  สำนักอโศก
8.50 -9.00            คำปราศรัยกล่าวต้อนรับโดยภิกษุณี มิงยู   ไต้หวัน
                            รองประธาน OWBA
9.00-9.20            สุนทรพจน์โดย ดร.เจนนี   ฟิลลิปส์      USA
9.20-9.30                เพลงธรรมะ โดย ภิกษุณีหมู่บ้านพลัม  แห่งประเทศไทย
9.30 9.50         สุนทรพจน์ โดย ภิกษุณีสุอัญญานี  ประเทศไทย
9.50 10.00       เพลงธรรมะ โดย มูลนิธิฉือจี้แห่งพุทธศาสนา
10.00 -10.40       นำเสนอชีวประวัติผู้ได้รับรางวัลสตรีดีเด่นในพุทธศาสนา
                           ประจำปี 2555
10.40 10.50     รำไทย
10.50 -11.30        นำเสนอชีวประวัติผู้ได้รับรางวัลสตรีดีเด่นในพุทธศาสนา
                            ประจำปี  2555
11.30 12.30     อาหารกลางวัน
12.30 12.40     สวดมนต์เถรวาทเกี่ยวกับ13อรหันต์ภิกขุณี
12.40 12.50     สวดมนต์มหายาน โดยภิกษุณีไต้หวัน
12.50 – 13.00      สวดมนต์วัชรยานเกี่ยวกับพระโพธิสัตว์ทารา
13.00 -13.30                      มอบรางวัลและถ่ายรูป
13.30 -15.00                      ผู้รับรางวัลนำเสนอเกี่ยวกับพลังศักสิทธิของสตรี
15.00 15.20                   ศีล 5 ข้อ มหัศจรรย์โดยภิกษุณีหมู่บ้านพลัมใน
                                          ประเทศไทย
15.20-15.30                       ปิดงาน  โดย ดร.ลี  USA
                                                             ประธาน  OWBA


วันเสาร์ที่   3  มีนาคม    2555
ชายหาดแม่รำพึง ระยอง

5.00-6.00


佛教傑出女性獎 International Outstanding Women in Buddhism Award

佛教傑出女性獎
International Outstanding Women in Buddhism Award
得獎感言
Gratitude Speech

釋惟俊Sik Wei-chun

      創辦人李博士比丘尼和Rattanavali博士比丘尼、大會主席修懿法師、尊敬的法師們、各位貴賓,大家好:
      Co-founders bhiksunis Dr. Lee and Dr. Rattanavali, President venerable Shiou I, respective venerables, distinguished guests, scholars, ladies and gentlemen

      本人能獲得 2008年度佛教傑出女性獎,是我一生的殊榮亦代表著另一種使命的開端。
      這個獎,是屬於曾指導過我的比丘律師們、以及與我一起努力的南林尼僧團、義工等共同所擁有的,因為大家二十多年來的合作,才能有今天的成果。
      除此之外,更感謝敬定長老尼提攜後學、修懿法師廣泛角度弘法的含容度量,給予我們充分的支持與鼓勵。
      本人從出家前,即受到比丘廣化律師依律如法受戒行持的啟發,指導我應如何抉擇出家修道的方向;
       
而後因美國Lekse Tsomo比丘尼到本寺參訪時討論到比丘尼傳承的問題讓我肯定要努力為比丘尼的受戒開闢出一條可行之路。

      之後我到南傳國家參學,發現對方並不承認我們比丘尼的身份,甚至要我們放棄比丘尼的身份才給予我們佛法的教授。
      後來在2003年一次於斯里蘭卡舉辦的會議中,聽到帝須大精舍住持Dhammasena長老表達他對斯里蘭卡尼眾不能受具足戒的遺憾。
      則點點滴滴累積當中,使我決定要建立一個如法依律運作的比丘尼僧團,並深入律藏,對戒法及實際行持進行研究。
      南林尼僧團就是在這樣發心動機之下成為的。依律建僧,既趨向解脫,亦以民主作風令尼僧團自治清淨。與比丘僧互相尊敬、和合共持正法。
依那爛陀宗風作三藏教觀次地及修證。

依那爛陀宗風作三藏教觀次地及修證。

依次第的漸修,不離當念的圓融。

依次第的漸修,不離當念的圓融。


依律護僧,常住及個人物公私分明。

寺院行政運古從今,既用現代工具不離恒古傳承道心。

      三十年來南林默默的耕耘今天獲致此獎,是大會給我本人的鼓勵,也表示大會對「如法建立比丘尼僧伽」的重視。
相信所有支持此事,並在殷殷企盼中不斷努力的尼眾姊妹們,也一定對大會萬分的感激。
今天有幸能在此認識各位得獎者。諸位皆以弘遠的睿智在佛教文化、慈善弘化及救世濟人方面展現出卓越的成就,讓我深深的讚嘆及歡喜。
而在今天這一個時刻,最值得表揚的,應該是主辦單位,及促成大會成功的所有團體及個人!

      我很感激Dr. LeeDr. Rattanavali比丘尼,讓我們有機會在〝提昇世界女性地位〞的大前提之下,共同欣賞、互助、團結聯誼,為一個更完美良善的世界而共同努力。對她們的用心和努力,我們深深的感激!


      她們的悲心和智慧是我們的模範。
      謝謝大家!

outstanding women in buddism awards รางวัลสตรีดีเด่นในพระพุทธศาสนา


วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 10973

รางวัล "สตรีดีเด่น ในพระพุทธศาสนา" เชิดชูสตรีผู้กล้าแห่งกองทัพธรรม


โดย เชตวัน เตือประโคน


ผู้ได้รับรางวัลทุกท่านถ่ายภาพร่วมกัน
โล่รางวัลสะท้อนแสงแวววับ กรอบประกาศเกียรติคุณสีทองอร่ามทรงคุณค่า เป็นเสมือนกำลังใจที่ทำให้ผู้ได้รับรางวัลรู้สึกสดชื่น อันเนื่องจากว่า มีคนเห็นคุณค่าในสิ่งที่พวกเธอทำ

ใช่! - สรรพนามบุรุษที่ 3 ใช้คำว่า "เธอ"

เพราะรางวัลที่พูดถึงนี้ มีชื่อว่า "รางวัล สตรีดีเด่นในพระพุทธศาสนา" โดยการสนับสนุนขององค์การยูเนสโก ซึ่งจัดงานขึ้น และมอบรางวัลเป็นประจำทุกปี

เพื่อประกาศและเชิดชูคุณความดีของผู้กล้า สตรีแห่งกองทัพธรรมทั่วโลก เชิดชูเกียรติของสตรีผู้ประกอบคุณงามความดีในพระพุทธศาสนา

สำหรับปี 2551 นี้ ได้มีการจัดงานและมอบรางวัลให้กับสตรีดีเด่น 20 คน จาก 7 ประเทศ ซึ่งได้มีการมอบรางวัลเชิดชูเกียรติไปแล้ว ที่สมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรีสมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรี ในพระอุปถัมภ์พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ

สำหรับรายนามของทั้ง 20 คน นั้นได้แก่ ภิกษุณีมุทิตา (เยอรมัน), ซิลเวีย เวทเซล (เยอรมัน), โนบูโกะ โอโนะ (ญี่ปุ่น), ภิกษุณี ดร.เมียง ซุงซูนิม (เกาหลีใต้), ภิกษุณีซิก เจียน เยน (จีนไทเป), ภิกษุณี เว่ย ชุน (จีนไทเป), แพทย์หญิงหลี่ หัว หยาง (จีนไทเป), ภิกษุณีเปมะ โชดรอน (อเมริกัน), ภิกษุณีเบธ เคนจิ โกลด์ริง (สหรัฐอเมริกา), ภิกษุณีแพทริเซีย ไดเอน เบนเนจ (สหรัฐอเมริกา), แจคเกอลีน เครเมอร์ (สหรัฐอเมริกา), ภิกษุณีอานันทะโพธิ (อังกฤษ)

และสำหรับสตรีไทยที่คว้ารางวัลอันทรงเกียรตินี้อีก 8 คน คือ

ภิกษุณีศีลนันทา นักบวชผู้ถือเป็นหนึ่งในอิฐก้อนแรกๆ ที่ปูทางไปสู่การจัดตั้งสถาบันภิกษุณีในประเทศไทย ท่านตั้งมั่นในการศึกษาธรรมะ โดยในปัจจุบันกำลังศึกษาพุทธศาสนาระดับปริญญาโทอยู่ที่ lnternational Buddhist Collage จ.สงขลา

สิกขมาตุผุสดี สะอาดวงศ์ ที่เป็นสิกขมาตุรูปแรกแห่งสำนักสันติอโศก ท่านไม่กินเนื้อสัตว์มาตั้งแต่อายุ 13 ปี ตราบจนกระทั่งปัจจุบัน เป็นระยะเวลากว่า 70 ปีแล้ว ท่านสมาทานศีล 10 เคยบำเพ็ญตบะด้วยการอดอาหาร 14 วัน นั่งเนสัชชิ (ไม่เอาหลังแตะพื้น) 1 พรรษา และเขียนหนังสือธรรมะหลายเล่ม

แม่ชีพิมพ์ใจ มณีรัตน์ เป็นผู้ก่อตั้งโครงการ "ศูนย์การศึกษาตามอัธยาศัยนานาชาติไทยภูเขา" เพื่อช่วยเด็กชาวไทยภูเขาที่ด้อยโอกาสทางการศึกษา ให้มีโอกาสได้เรียนหนังสือขั้นพื้นฐาน เพื่อให้เด็กเหล่านี้มีโอกาสพัฒนาตนเองไปสู่การศึกษาขั้นสูงต่อไป โดยท่านเชื่อว่า "ความรู้คืออำนาจ ความรู้คือโอกาส"

แม่ชีวารี ชื้อทัศนะประสิทธิ์ ออกบวชในพุทธศาสนามาเป็นเวลากว่า 40 ปี ท่านทำหน้าที่เป็นครูฝึกแม่ชีไทยให้ออกไปเป็นครูสอนธรรมะและครูสอนวิชาทั่วไป จนถึงปัจจุบันมีลูกศิษย์มากมายหลายรุ่นท่านพำนักอยู่ที่วิทยาลัยจิตตภาวัน จ.ชลบุรี และดำรงตำแหน่งเลขานุการของสถาบันแม่ชีไทย

แพทย์หญิงคุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ เป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านนิติวิทยาศาสตร์มานานกว่า 20 ปี

ภาพบรรยากาศในวันมอบรางวัล

เตือนใจ กุญชร ณ อยุธยา ดีเทศน์ เป็นนักพัฒนา นักเขียนที่สนใจความสมดุลระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติและมนุษย์กับมนุษย์ ได้รับรางวัลบุคคลดีเด่นแห่งชาติ พ.ศ.2539 และรางวัลคนดีศรีสังคมสาขางานสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2534 เธอเขียนหนังสือเกี่ยวกับธรรมชาติและชาวไทยภูเขาหลายเล่ม

อังกูร วงศ์เจริญ พยาบาลวิชาชีพ ได้ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ที่ประสบภัยพิบัติทางภาคใต้ของไทยตามหลัก "โพธิสัตวธรรม" ในพุทธศาสนามหายานแบบจีน โดยประสานงานกับสภากาชาดไทยในเหตุภัยพิบัติสึนามิ และเป็นผู้ริเริ่มโครงการลดความเสี่ยงที่จะเกิดภัยพิบัติตามชุมชนชายฝั่งและหมู่เกาะเต่า

อรสม สุทธิสาคร เป็นนักเขียนอิสระที่เขียนสารคดีสะท้อนปัญหาสังคมไทยที่เกี่ยวกับเด็ก ผู้หญิง ครอบครัว ความรุนแรง และผู้อยู่ในมุมมืดมานานกว่า 20 ปี โดยเชื่อว่าการสะท้อนความจริงของชีวิตจะทำให้เรารู้จักคุณค่าของชีวิตและตั้งตนอยู่ในความไม่ประมาท เธอเขียนหนังสือกว่า 30 เล่ม เช่น สนิมดอกไม้ เด็กพันธุ์ใหม่วัยเอ็กซ์ เป็นต้น

รางวัลสตรีดีเด่นในพระพุทธศาสนานี้ มีทั้ง นักบวช และ อุบาสิกา

หลายคนอาจสงสัย ทางพระพุทธศาสนานั้นแตกต่างกันอย่างไร ระหว่าง ภิกษุณี แม่ชี และ สิกขมาตุ

"ภิกษุณี" เป็นคำใช้เรียกนักบวชหญิงในพระพุทธศาสนา คู่กับคำว่า ภิกษุ ซึ่งเป็นคำที่ใช้เรียกนักบวชชาย

สำหรับ "แม่ชี" เป็นเพียงอุบาสิกา หรือพุทธศาสนิกชนเพศหญิง ที่ถือศีล 8 ข้อ อย่างชาวพุทธที่เคร่งครัด และ "สิกขมาตุ" หมายถึง นักศึกษาหรือนักบวชฝ่ายหญิงที่ใช้เรียกในกลุ่มชาวอโศก หรือที่รู้จักกันในนาม สันติอโศก

มีโอกาสได้คุยกับผู้ได้รับรางวัลนี้บางคน

ถามถึงบทบาทของสตรีในปัจจุบัน ตลอดจนการทำงานของแต่ละคน เรื่องราวคำบอกเล่าที่ได้รับฟังนั้นน่าสนใจ..

ภิกษุณีศีลนันทา บอกว่า เรื่องของรางวัลที่ได้รับนั้นภูมิใจ แต่สิ่งที่สำคัญคือ รู้สึกดีที่ได้ทำดีแล้วมีประชาชนโลกได้รับรู้ เผยแพร่สิ่งที่ทำให้คนอื่นได้ดำเนินเป็นแบบอย่าง สานต่อความดีนั้นต่อไป เพราะเท่าที่สังเกต ทุกวันนี้ เรื่องร้ายๆ มักเป็นข่าว เรื่องดีๆ มักไม่ค่อยเป็น

"อาตมาเป็นคนตัวเล็กๆ แต่อาจเป็นเพราะผู้ใหญ่หลายท่าน เห็นว่าเราตั้งใจจริง มีความจริงใจในการช่วยเหลือสังฆะ (สงฆ์) ตัวอย่าง เช่น ได้ช่วยเหลือสามเณรีท่านหนึ่งที่เพิ่งบวชใหม่ ที่ไม่รู้หันหน้าไปฝั่งไหน ชีวิตเกิดปัญหา เราก็ได้เข้าไปช่วยเหลือ สามเณรีรูปนั้นเป็นชาวอาเจนตินา และไปเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับทางประเทศมาเลเซีย จึงเกิดเป็นมิตรสัมพันธ์กันกว้างไกล" ภิกษุณีศีลนันทา กล่าวด้วยน้ำเสียงราบเรียบ

ดังคำประกาศเกียรติคุณของคณะกรรมการที่ตัดสินรางวัล

ภิกษุณีศีลนันทา เป็นนักบวชหญิงท่านแรกๆ ที่พยายามผลักดันให้เกิดการจัดตั้งสถาบันภิกษุณีในประเทศไทย โดยท่านมองถึงผลที่จะได้รับว่า หากสตรีคนใดเกิดปัญหา ก็จะได้เข้ามาหาและปรึกษาภิกษุณี เพราะเรื่องลึกซึ้งบางเรื่องพูดกับพระเพศตรงข้ามลำบาก ก็มาพูดกับพระฝ่ายหญิง ซึ่งก็ไม่ได้พูดหรือให้คำปรึกษาแต่เรื่องทางโลก จะพยายามดึงให้เข้ามาสู่การปฏิบัติธรรม แม้จะเป็นจุดเล็กๆ แต่ภิกษุณีท่านนี้คิดว่าจะสามารถช่วยพัฒนาสังคมได้อย่างแน่นอน

ภิกษุณีศีลนันทา - อรสม สุทธิสาคร - เตือนใจ กุญชร ณ อยุธยา ดีเทศน์


เป็นบทบาทของพระฝ่ายหญิงที่สำคัญ

"สิ่งที่อาตมาอยากเห็น คือ พระทุกท่าน ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายหญิงหรือชายก็ตาม เกิดการปฏิบัติ เข้าใจจิตใจของตัวเอง ซึ่งจะทำให้รู้ว่าตัวเองเป็นอย่างไร ผู้อื่นก็ไม่ต่างไปจากนั้น ใครที่เป็นทุกข์ก็เข้ามาปฏิบัติธรรม ฝึกเผยแพร่ ทั้งทางจิต และทางโลก อนาคตอยากเห็นพระชายและพระหญิงปรองดองกัน ประสานกัน ดำเนินไปบนทางหลุดพ้นแห่งความพุทธ พร้อมกับช่วยเหลือคนด้วย พ้องกับความเป็นพุทธบริษัททั้งสี่"

ภิกษุศีลนันทากล่าว พร้อมกับวิเคราะห์บทบาทของสตรีในปัจจุบันว่า...

"บทบาทสตรี จริงๆ แล้ว พบว่าพระฝ่ายหญิงทำงานดีๆ มากมาย และก็ทำมานานแล้ว แต่บ้านเรายังไม่ยอมรับ บอกว่าผู้หญิงบวชไม่ได้ เพราะการบวชภิกษุณีต้องมีภิกษุณีมาบวชให้ ซึ่งในประเทศไทยตั้งแต่แรกเริ่ม ไม่มีภิกษุณีอยู่แล้ว ในปัจจุบันมีภิกษุณีในเมืองไทย 6-7 รูปเท่านั้น ซึ่งบวชมาจากต่างประเทศ แต่มองสถานการณ์นี้กำลังดีขึ้นเรื่อยๆ"

ทางฟากฝั่งของฆราวาสที่ได้รับรางวัลอันทรงเกียรตินี้...

แม้จะยังถ่อมตนอยู่ว่า ยังทำงานเพื่อพระพุทธศาสนาน้อย ไม่เหมาะกับรางวัล แต่หากมองลึกลงไปแล้ว จะพบว่า "เตือนใจ กุญชร ณ อยุธยา ดีเทศน์" นั้น พยายามสนับสนุนเรื่องของสถานภาพภิกษุณี มาโดยตลอด

ในสมัยที่เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เตือนใจ พยายามเสนอร่างพระราชบัญญัติ ส่งเสริมสถานภาพของนักบวชสตรี เข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมาธิการ ซึ่งในปัจจุบัน ได้มีการพิจารณาอย่างรอบคอบ และรัดกุม พิจารณากันในอนุกรรมาธิการกิจการสตรีแล้ว และจะเสนอต่อ ชมรมสมาชิกรัฐสภาสตรี ซึ่งประกอบด้วย สมาชิกสภาผู้แทน (ส.ส.) หญิง และสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) หญิง บางส่วน

กฎหมายนี้มีขึ้นเพื่อให้รัฐได้คุ้มครอง และส่งเสริม สถานภาพนักบวชหญิง

"เพราะว่าในยุคนี้ ผู้หญิงค่อนข้างเป็นเหยื่อสังคมมาก ไม่ว่าจะเป็นความรุนแรงในครอบครัว สังคม การเป็นเหยื่อของบริโภคนิยม วัตถุนิยม โลกาภิวัตน์ การปฏิบัติธรรม ผู้หญิง 80 เปอร์เซ็นต์ แสดงว่าใส่ใจธรรมะ ให้ธรรมะเป็นหลักในการดำเนินชีวิต ไม่ว่าเป็นหลักศาสนาใด แต่ว่า โอกาสศึกษาเป็นผู้เผยแพร่ธรรมะน้อยไป ดีใจที่มีภิกษุณี ในพระพุทธศาสนาในหลายประเทศ" เตือนใจกล่าว

ปัจจุบันผู้หญิงมีบทบาทในภาคส่วนต่างๆ ของสังคมมากขึ้น ผู้หญิงทั่วโลกมีการรวมตัวกัน เรียกร้องเกิดความเสมอภาค แต่พุทธศาสนามองไปไกลกว่าความเสมอภาคของความเป็นหญิงเป็นชาย

นั่นคือเรื่อง การบรรลุธรรม เข้าถึงธรรม ปฏิบัติธรรม และเผยแพร่ธรรม

"การมอบรางวัล สตรีดีเด่นในพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นรางวัลระดับโลก จะทำให้คนทั้งโลกเข้าใจ ว่าศาสนาไม่ใช่สิ่งมอมเมา แต่ศาสนาคือแก่นของธรรมะ น่ายินดีที่ผู้หญิงทั่วโลกมองเห็นว่า แก่นธรรมของพระพุทธศาสนา ทำให้มนุษย์ชีวิตดำเนินไปอย่างมีหลัก คือ หลักที่ไม่ไปตามกระแส..

...อย่างน้อยที่สุด หลักไตรสิกขา อย่าง 1.ทาน คือ การให้อย่างสละตัวตน ให้ความรู้ ให้ธรรมะ ให้อภัย 2.ศีล.การรักษาศีลให้บริสุทธิ์ ทำให้ชีวิตผู้คนอยู่ร่วมกันในสังคมได้ไม่เบียดเบียนกัน และ 3.ภาวนา การเจริญสติ เจริญปัญญา จะทำให้เรามองโลกอย่างที่เป็นจริง ไม่ใช่มองโลกอย่างสมมติบัญญัติ แต่ต้องมองอย่าง ปรมัตถ์ คือมองอย่างหลุดพ้น ถึงแก่นธรรม คือความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ ความไม่มีตัวตน" อดีตสมาชิก สนช.กล่าว

โดยเธอมีความคาดหวังว่า หากได้กลับมาอยู่ในแวดวงการเมืองอีกครั้ง อยากทำให้ รัฐสภา ตลอดจนศาลต่างๆ มีความเป็น สัตบุรุษ คือ มีความซื่อสัตย์ เข้าถึงธรรมะ

ทางด้าน อรสม สุทธิสาคร นักเขียนสารคดีอิสระ ผู้มีผลงานเกี่ยวกับผู้หญิงมากมาย เปิดเผยความรู้สึกว่า...

"เป็นรางวัลแรกในการทำงาน สารคดีกว่า 20 ปี ทั้งยังได้จากแวดวงอื่นที่ไม่ใช่แวดวงวรรณกรรม" เธอกล่าวกลั้วหัวเราะ

แต่ก็ไม่ใช่เรื่องที่หลุดลอยจากหลักการในการพิจารณารางวัลของคณะกรรมการ เพราะงานสารคดีของนักเขียนหญิงผู้นี้ สะท้อน สัจจะของชีวิต ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของผู้หญิง เด็ก ความรุนแรง เป็นเรื่องในมุมมืดของสังคม ที่เธอฉายผ่านงานเขียนให้เห็นทางสว่างของชีวิต ให้ความหวังแก่ผู้หมดหวัง จุดไฟพลังให้ผู้มีความทุกข์หยัดยืนลุกขึ้นสู้ต่อ

อรสมบอกว่า ปัจจุบัน มีผู้หญิงที่มีความทุกข์อยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งไม่เฉพาะเรื่องเงินทอง บางคนมีฐานะดี การศึกษาดี ก็ยังประสบความทุกข์ โดยเฉพาะเรื่องครอบครัว เรื่องความรัก จากประสบการณ์ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลจริง สิ่งที่สามารถช่วยดับทุกข์เหล่านั้นได้ คือการมีธรรมะกำกับ จะช่วยให้รับมือกับปัญหา หรือความทุกข์ที่จะเกิดได้ดีขึ้น

"บทบาทสตรี ทุกวันนี้มีการพูดถึงเยอะ มีการเรียกร้องสิทธิในหลายๆ เรื่อง เชื่อว่า สังคมไทยเปิดกว้างมากขึ้น แต่ด้วยสถานะความเป็นผู้หญิง การที่จะได้รับการยอมรับ คงต้องพิสูจน์ตัวเองหนักกว่าผู้ชาย ด้วยการทำงานหนักขึ้น ทุ่มเทมากขึ้น ขณะเดียวกัน ก็มีเป้าหมายชีวิตชัดเจน ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญ รู้ว่าเราต้องการอะไรในชีวิต จะทำให้เราก้าวเดิน ไปสู่จุดหมายง่ายกว่าคนที่ไม่รู้จักเป้าหมายของตัวเอง" นักเขียนสารคดีหญิงกล่าวด้วยน้ำเสียงจริงจัง

หากมองในเรื่องสิทธิพื้นฐานของทุกผู้ทุกคน สิทธิอย่างการที่จะมีความสุข และการที่จะไม่ทุกข์เป็นเรื่องที่ทุกคนเท่าเทียม

เช่นเดียวกับเรื่องการปฏิบัติธรรม การประกอบคุณงามความดี ก็ไม่ได้จำเพาะเจาะจงไว้ที่บุรุษเพศเท่านั้น หากแต่สตรีเพศ ก็สามารถที่จะเข้าถึง สร้างคุณประโยชน์ ให้พระพุทธศาสนา ให้สังคม ให้ประเทศ

ให้โลกใบนี้สงบสุขได้เช่นกัน

จากหนังสือพิมพ์ มติชน  หน้า 20

Newspaper Bangkok Post 2011

Newspaper Bangkok Post 2011
หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ 2554